เทศกาลสำคัญประจำปีของญี่ปุ่น
1. เทศกาลปีใหม่ :
ชาวญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการผ่านไปของหนึ่งปีและการมาถึงของปีต่อไปด้วยศรัทธาแรงกล้า
ระยะเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเรียกว่า"โชงัท สึ" หมาย ถึง เดือนแรกของปี
ประชาชนจะประดับประดาทางเข้าบ้านด้วยกิ่งสนและพู่ระย้าที่ทำจากฟาง
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ป้องกันมิให้สิ่งมัวหมองเข้ามาแผ้วพาน
ของตกแต่งในวันปีใหม่ของชาวญี่ปุ่นเริ่มที่ “คาโดมัทสึ” ซึ่งชื่ออาจฟังดูเข้าใจยากสักหน่อย
แต่เจ้าสิ่งนี้นั้นถูกนำมาเพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี
เพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาว มีความเจริญรุ่งเรือง และให้มีความมั่นคงในชีวิต
โดยเจ้าสิ่งนี้จะวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ของประตูก็ได้
(ความเชื่อแฝงเกี่ยวกับฮวงจุ้ย) คาโดมัทสึนั้นประกอบด้วยกิ่งสนใหญ่
ไม้ไผ่และช่อดอกบ๊วย ซึ่งช่อดอกบ๊วยถือเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าแห่งปี ซึ่งขอย้อนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคะโดะมัทซึอีกสักเล็กน้อย
ค่อนข้างแฝงความเชื่อที่ว่าประตูจะมีมุมประตู เป็นเหลี่ยมๆ
การใช้ดอกไม้ไปประดับตรงแต่ละมุมทั้งสองมุมนั้น จะเป็นการลบมุม
ลบเหลี่ยมประตูตรงนั้นด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทำให้ความหมายดี
ก็ทำนองคล้ายๆแนวฮวงจุ้ยส่วนของตกแต่งอย่างอื่นที่ทำแบบง่ายๆก็มีอย่างเช่น
“ชิเมคาซาริ” ของใช้ประดับวันปีใหม่เช่นกัน
ประกอบด้วย เชือกศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำด้วยฟางข้าว มีแถบกระดาษสีขาวห้อยเป็นพู่
ประดับพร้อมกับ กุ้งมังกร ส้ม และใบเฟิร์น
ชาวยุ่นจะแขวนไว้ที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อว่า จะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านเนื่องในโอกาสวันปีใหม่
โดยความหมายที่น่าสนใจอย่างกุ้งมังกรจะหมายถึงอายุยืนยาวส่วนส้มถือว่าหมายถึงเป็นสิ่งแสดงสุขภาพที่แข็งแรงของสมาชิกในครอบครัวโดยเชื่อว่าบ้านเมื่อแขวนชิเมคาซาริแล้วเชื่อว่าบ้านบริสุทธิ์สิ่งชั่วร้ายเข้าไม่ได้นั่นเอง
ความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทันที
ที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่า หรือสัปดาห์แรกของปีใหม่
คนญี่ปุ่นจะไปวัดชินโตหรือวัดพุทธเป็นครั้งแรก โดยผู้คนจะโอนเงินลงในกล่อง และขอพร
ให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะมีการซื้อโอมาโมริ
เครื่องรางนำโชคหรือลูกศรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีขนนกสีขาวประดับอยู่
มีการเสี่ยงเซียมซี ใบเซียมซีเขียนด้วยตัวคันจิ ว่าจะดีหรือร้าย ถ้าไม่ค่อยดี
ก็จะผูกไว้กับกิ่งไม้ในวัดเพื่อให้ดวงชะตาดีขึ้น
ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูไปดูมาก็คลับคล้ายคลับครากับของบ้านเรา
ที่ปีใหม่จะมีการทำบุญตักบาตร ไปไหว้พระ ฟังเทศน์กันที่วัด
ตามแต่ละความเชื่อและศรัทธาของแต่ละคนกันไป ยิ่งกว่านั้นยังมีความเชื่อที่น่าสนใจ
ในช่วงหลังปีใหม่ไม่นาน ที่น่าสนใจอย่าง ประเพณีทานข้าวต้มใส่สมุนไพร 7 ชนิด
ของฤดูใบไม้ผลิ ในวันที่ 7 ของปีใหม่ ด้วยเหตุผล ตามที่ทราบ ๆ จากคนญี่ปุ่นนั้น
ว่ากันมาว่า เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคอื่น ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย
ประเพณีนี้มีเริ่มแรกในสมัยเฮอัน และพวก สมุนไพร 7 อย่างในฤดูใบไม้ผลิของเขา
นั่นก็ได้แก่ ซูซูชิโระ ซูซูนะ เซริ นาซูนะโกะเงียว โฮโตเคโนะซะ ฮาโกเบระหลายคนอาจสงสัยว่าแล้วทำไมต้องวันที่
7 หลังปีใหม่ด้วยล่ะ ส่วนทำไมต้องวันที่ 7 หลังปีใหม่ คาดว่าโน้มเอียงความเชื่อว่า
เลข7 เป็นเลขมงคลของชาวญี่ปุ่นนั่นเอง ด้านเลข7
ซึ่งเป็นเลขมงคลของเขานั้นแฝงความเชื่อมาจากการเล่นปาจิงโก็ะของชาวญี่ปุ่น
ด้วยครับ เพื่อนชาวญี่ปุ่น บอกว่า หากเล่นปาจิงโก๊ะแล้วได้สุ่มออกมาเป็นเลข 777
ก็ถือว่าเป็นเลขนำโชค โชคดีอย่างมาก ได้เงินใช้ทำนองนี่ล่ะ (การจะสุ่มออกมาเป็นเลข
7 ทั้งสามตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีความน่าจะเป็นน้อยมาก ถือว่าต้องเฮงจริงๆจึงจะได้)
2. เทศกาลเซ็ตสึบุน : เซ็ตสึบุน หมายถึงวันที่ 3 หรือ 4 กุมภาพันธ์
ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตามประเพณี มีการซัดถั่วแดงอะซุกิ(あすき) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากบ้านซึ่งมีการจัดพิธีนี้ตามวัดและศาลเจ้าด้วย
ประวัติคราวๆ คือเริ่มมีมาตั้งแต่สมัย มุโรมาจิจิได(ประมาณคริสศตวรรษที่ 17)
และก็กระทำติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อถึงวันนี้ในแต่ละบ้านจะให้พวกผู้ชาย คือ พ่อและก็ลูกชาย ใส่หน้ากากผี ปีศาจ
ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย(ที่เราเห็นเป็นหน้ากากสีแดงๆ แต่ไม่ใช่หน้ากากเทนงูจมูกยาวๆนะ)
แล้วก็เอาถั่วหว่านเข้าไป แล้วก็พูดว่า “โอนิวะโซโตะ” 鬼は外 ( おに はそと)แปลว่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายจงออกไปและจะซัดถั่วจากข้างนอกเข้าไปในบ้านและตะโกนว่า“ฟุกุสะอุจิ” 福は内 ( ふくはうち) แปลว่าความ
เป็นสิริมงคลจงเข้ามานอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ให้กินถั่วจำนวนเม็ดเท่ากับอายุของตัวเอง
จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยไปตลอดปี
3. เทศกาลวันเด็กผู้ชาย :
คือวันที่ 5 พฤษภาคม เทศกาลนี้จัดขี้นสำหรับเด็กผู้ชายเท่านั้น
บ้านไหนที่มีลูกชายจะประดับว่าวปลาคาร์ฟยาว 1-2 เมตรให้ปลิวไสวตามจำนวนบุตรชาย
ในบ้านมีการจัดพิธีบูชาตุ๊กตานักรบ ซึ่งประกอบด้วยเสื้อเกราะ
หมวกเกราะหรือที่เรียกว่า “โกะงัสสึ
นิงเงียว”เพื่อ อธิษฐานขอให้บุตรชายที่รักมีสุขภาพแข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ
นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกโชบุและดอกคะชิวะและโมะติ
ประดับไว้กับตุ๊กตานักรบที่ชื่อว่า Kabuto และมีการดื่มสาเกฉลองเช่นเดียวกับเทศกาลวันเด็กผู้หญิง
4. เทศกาลตุ๊กตา : หรือ วันเด็กผู้หญิง
เป็นเทศกาลของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณ จัดขึ้นในวันที่ 3
มีนาคมของทุกปี เป็นเทศกาลที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ตามความเชื่อที่ว่าการปล่อยตุ๊กตาลงน้ำสามารถขจัดเคราะห์ร้ายให้ไปกับตุ๊กตาได้
แต่สหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข
พร้อมกับประสบความสำเร็จในชีวิต เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก
จะถูกเรียกว่า "ฮัตสึ เซ็กกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้อาวุโสเชีนย่าหรือยาย
เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาวสิ่งที่มักพบเห็นได้ในช่วงเทศกาลนี้คือการประดับด้วยชุด
ตุ๊กตาฮินะ หรือในชื่อญี่ปุ่นที่ว่า ฮินะนิงเงียว
雛人形 hinaningyō ตามบ้าน ซึ่งตุ๊กตาดังกล่าวเป็นแบบดั้งเดิมทำด้วยมือ
แต่งกายตามราชสำนักญี่ปุ่นโบราณ สมัยยุคเฮอัง วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น
รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก
และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ
ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ
(Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้
จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ
โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง
5. เทศกาลแห่งดวงดาวTanabata : ตามตำนานกล่าวว่าดวงดาววีก้า(Orihime) ที่อยู่ทางทิศตะวันออกคือเจ้าหญิงทอผ้าธิดาของเจ้าครองฟ้าและดวงดาวอัลแทร์(Hikohoshi) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกคือหนุ่มเลี้ยงวัวด้วยความรักอันดื่มด่ำที่ทั้งสองคนมีให้แก่กันเป็นเหตุให้เจ้าหญิงละวางงานทอผ้าที่เคยใส่ใจเป็นเหตุให้พระบิดาขุ่นเคืองจึงกั้นขวางดาวทั้งสองไว้คนละฝั่งฟ้าด้วยทางช้างเผือกและในคืนวันที่7
เดือน7 ของทุกปี
คือคืนที่ดาวทั้งสองดวงจะโคจรมาใกล้กันมากที่สุดชาวเมืองเซนไดจึงเฉลิมฉลองด้วยการประดับประดาดาวกระดาษดวงใหญ่ให้ปลิวไสวไปทั่วทั้งเมืองมีการนำกระดาษ5
สีหรือ(Tanzaku)มาเขียนคำอธิษฐานทั้งเรื่องความรักและตัดกระดาษเป็นรูปคล้ายๆโซ่แทนสัญลักษณ์ของทางช้างเผือกนำไปแขวนไว้ที่ต้นไผ่และยังมีขบวนพาเหรดใหญ่โตสวยงามเทศกาลนี้จึงมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุดอีกเทศกาลหนึ่งโดยเฉพาะจังหวัดมิยากิและจังหวัดคานางาวะเมืองฮิระทสึขะ
6. เทศกาลฮานามิ (Hanami
Festival) : 1-45 เดือนเมษายนของทุกปี เทศกาลชมดอกซากุระบาน ช่วงเวลาแห่งความสุข
ประจำฤดูใบไม้ผลิ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัย“เฮอัน” แต่ยุคนั้นจำกัดไว้ในหมู่ขุนนางชั้นสูง และชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ
มีการประกวดแต่งกลอน“ไฮกุ” {กลอนไฮกุมี 17 พยางค์ บรรทัดแรก 5 พยางค์ บรรทัดต่อมามี 7 พยางค์
บรรทัดสุดท้าย มี 5 พยางค์ ใช้ภาษาเรียบง่าย สั้นๆได้ใจความ บรรทัดสุดท้าย
ทิ้งท้ายให้คิด หรือจบแบบพลิกความคาดหมาย ตัวอย่าง
หัวข้อพระราชนิพนธ์โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ฝนโปรยลงมาแล้ว
ดอกไม้บานรับแสงอาทิตย์ ต้นไม้ผลิใบเขียว} และร้องรำทำเพลงต่อมาจึงเริ่มแพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน
ทุกวันนี้เมื่อถึงช่วงเวลาที่ซากุระออกดอกทุกคนจะพากันออกมาชมความงาม สะพรั่ง
สถานที่ต่างๆที่เป็นจุดชมดอกซากุระบาน จะมีการออกร้าน ของกันอย่างสนุกสนาน ครอบครัว เพื่อนฝูง
จะนัดกันออกมาปิกนิก ปิ้งบาร์บีคิว ดื่มสาเกตามสวนสาธารณะ
7. เทศกาลโอบง(Obon): จัดทุกวันที่
13-16 เดือนสิงหาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้
เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ เพราะเชื่อกันว่าดวงวิญญาณคนตายจะกลับลงมาเยี่ยมโลกตามบ้านเรือน
จึงมีการจุดตะเกียงหรือคบเพลิงเพื่อส่องนำทางดวงวิญญาณให้กลับบ้านถูก
ในเทศกาลมีการร่ายรำพื้นบ้านโบราณบงโอโดริ(Bon Odori)อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง
โดยชาวญี่ปุ่นจะสวมยูกาตะ และต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า“Zori” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “Geta”เท่า นั้น ถึงจะถูกต้องประเพณี ในวันที่ 13-15
สิงหาคม ก็มีการจัดพิธีกรรมเพื่อบูชาบรรพบุรุษ โดยการจุดไฟต้อนรับที่หน้าประตูบ้าน
และถวายผักหน้าแท่นบูชา เอาปักไว้บนตะเกียบ แล้วในตอนเย็นของวันที่ 15
ก็มีการส่งวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจุดไฟที่ เรียกว่า โทโรนางาชิ
เป็นโคมกระดาษมีเทียนจุดไฟอยู่ภายใน แล้วนำไปลอยในแม่น้ำ
เพื่อนำทางให้วิญญาณบรรพบุรุษลอยออกสู่ทะเล
แต่พิธีการลอยโคมไฟของแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันไปนอกจากนี้ในวันที่16 เวลา
20.00น. หรือตอน2 ทุ่ม มีการจุดไฟอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า โอคุริบิ
ก็เป็นการนำทางวิญญาณบรรพบุรุษหลังจากมาเยี่ยมลูกหลานเสร็จแล้วนั่นแหละ
ไฟที่จุดนี้มีชื่อเฉพาะอีกด้วยไฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ไดมนจิ
เป็นไฟรูปตัวอักษรภาษาจีนขนาดใหญ่ อ่านว่า ได(Dai) แปลว่า ใหญ่
ไฟนี้จะเริ่มจุดที่ภูเขาเนียวอิงาตาเคะ(Nyoigatake)ใน
เมืองเกียวโต แสงไฟสว่างไสวเชียว ส่วนบนเขาลูกอื่นก็มีตัวอักษรอื่นๆ
เทศกาลนี้ถือเป็นช่วงวันหยุดที่ติดต่อกันยาวเทศกาลหนึ่งของชาวญี่ปุ่น
ไม่ว่าจะเป็นย่านสำนักงานในกรุงโตเกียวหรือร้านค้าต่างๆก็จะหยุดงาน
เพื่อให้พนักงานเดินทางกลับบ้านเกิดไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันตามประเพณี
8. เทศกาลกิออน (Gion Matsuri) :
จัดที่Kyoto ในวันที่ 1-15 กรกฎาคมของทุกปี
งานเทศกาลของศาลเจ้า Yasaka เป็นหนึ่งใน 3
เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของเกียวโต และยังเป็น 1 ในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่19 จุดประสงค์ดั้งเดิมของเทศกาลนี้ก็คือ
การขับไล่ปิศาจที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคภัย ขบวนพาเหรดบอลลูนหรูหราตระการตา 12 ลูก
ถูกแห่รอบเมืองเกียวโต ในงานมีการโชว์ Kasahoko ลักษณะคล้ายลูกโป่งขนาดใหญ่
หลากหลายรูปร่าง บางลูกมีความสูงถึง 6 เมตร
นี่คือเทศกาลที่ชาวเมืองเกียวโตให้ความสำคัญและโด่งดังไปทั่วโลก
9. เทศกาลยามค่ำคืน (Chichibu Night
Festival) : เทศกาลที่จัดชึ้นในยามค่ำคืนของวันที่ 2 ธันวาคมของทุกปีจัดแสดงที่Saitama มีการแสดงละครคาบูกิซึ่งถือว่าเป็นละครภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นที่สึบทอดยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่
17 รูปแบบการแสดงจะใช้นักแสดงชายที่เรียกว่า“อันนะงาตะ” ร่ายรำเล่าเรื่องตลกชวนหัวเราะเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาสอดแทรกแง่คิดไปด้วยในวันนี้ละครคาบูกิจะถูกแสดงบนบอลลูนอันหรูหราพร้อมด้วยดนตรีพื้นบ้านChichibu ที่มีชีวิตชีวาและในยามค่ำคืนจะมีการจุดพลุ 18,000 ลูกตื่นตากับรัศมีของพลุที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 310
เมตรสว่างไสวไปทั้งเมือง
10. เทศกาลหิมะ Snow Festival :
จัดที่ Sapporo ทุกเดือนกุมภาพันธ์ อากาศที่หนาวเย็น
ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งหน้าสู่เมืองซับโปโร บนเกาะฮอกไกโด
เพื่อร่วมสนุกสนานกับเทศกาลหิมะ ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งจัดขึ้นที่ Odori Park ประกอบด้วยจุดเยี่ยมชม 3 จุด ได้แก่ Odori site, Sato-Land site และ Susukino
site โดยไฮไลต์เด็ดของทุกปี อยู่ที่รูปสลักน้ำแข็งสถาปัตยกรรมสำคัญต่างๆ
และในงาน Sapporo Snow Festival 58 ปีล่าสุด
มีจุดเด่นที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทของไทย สลักจากหิมะสามพันลูกบาศก์เมตร
ระดมทหารญี่ปุ่นราว 3,000 คน
มาช่วยกันแกะสลัก ใช้เวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการให้เกียรติประเทศไทยในโอกาสฉลอง 120
ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมกว่า 2 ล้านคน
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น