วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติตุ๊กตาบลายธ์



ประวัติตุ๊กตาบลายธ์

http://image.dek-d.com/17/1052752/14896726


     ตุ๊กตา บลายธ์ ถือกำเนิดในปี 2515 (ค.ศ. 1972) ผลิตโดยบริษัท เค็นเนอร์ (Kenner) ในสหรัฐอเมริกา โชคร้ายสำหรับเค็นเนอร์ ที่ตุ๊กตาขายไม่ดี เลยผลิตจำหน่ายแค่เพียงปีเดียวก็ยุติการผลิต แต่เป็นโชคดีของผู้มีตุ๊กตาบลายธ์ที่ผลิตในปีนั้นไว้ในครอบครอง เพราะปัจจุบัน นักสะสมตุ๊กตาระดับมืออาชีพ ต่างควานหาตุ๊กตารุ่นนี้กันให้ควั่ก แถมให้ราคาดี ซึ่งจะดีมากหรือ ดีมากๆขึ้นอยู่กับสภาพของตุ๊กตา กล่าวกันว่าราคาซื้อขายทั่วไปจะอยู่ที่ตัวละ 1,000 กว่าดอลลาร์ขึ้นไป ส่วนตุ๊กตาบลายธ์ที่ผลิตใหม่ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ที่เรียกว่า นีโอ บลายธ์ (Neo Blythe) เวลาจะขายทอดตลาดก็มักได้ราคาไม่ต่ำไปกว่าราคาที่ซื้อมา เรียกว่ามีไว้ไม่ขาดทุน ยิ่งถ้าเป็นรุ่นที่ผลิตออกมาในจำนวนจำกัด (limited edition) ก็ยิ่งได้ราคาดีเป็นพิเศษ
        อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าบลายธ์เป็นสินค้าที่ล้ำยุคไปหน่อย เลยไม่เวิร์คในปีเปิดตัว ที่ว่าล้ำยุคเพราะเธอมีหัวโต ตัวผอม ความสูง 11.5 นิ้ว เวลากอดก็ไม่ค่อยจะอบอุ่น เรียกว่าเธอเป็นตุ๊กตาที่ไม่โดนใจเด็กผู้หญิงในยุค 30 กว่าปีที่แล้ว แต่ส่วนดีของบลายธ์ คือ ดวงตากลมโตเท่าไข่ห่านที่หลับได้ เปิดได้ แล้วเวลาเธอเปิดเปลือกตาแต่ละครั้ง ลูกตาของเธอจะเปลี่ยนสีได้ถึง 4 สี คือ ฟ้า ส้ม ชมพู เขียว แถมตาดำยังเปลี่ยนตำแหน่งได้ ทำให้เธอดูเหมือนตุ๊กตาที่สามารถเหลือบตามองใคร
            หลังจากที่บริษัท ฮาสโบร ผู้ผลิตของเล่นรายใหญ่ของสหรัฐ ซื้อกิจการของบริษัท เค็นเนอร์ ผู้ให้กำเนิดตุ๊กตาบลายธ์ ( ซึ่งตอนนั้นเค็นเนอร์ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท ท็องก้า ทอยส์ มาก่อนแล้ว จากนั้นท็องก้า ทอยส์ จึงถูกฮาสโบรซื้ออีกทอด) ฮาสโบรก็ได้สิทธิ์ในการผลิตตุ๊กตาแฟชั่นตาโตตัวนี้มาด้วย บริษัทให้สิทธิ์ในการผลิตตุ๊กตาบลายธ์แก่ผู้ผลิตรับช่วงรายอื่นด้วย ได้แก่ บริษัท ทาคาระ (Takara) ได้รับสิทธิ์ในการผลิตปี 2544 เป็นต้นมา และบริษัท แอชตั้น เดรค (Ashton Drake) ปี 2547 
ส่วนบริษัทที่รับหน้าที่บริหาร จัดการลิขสิทธิ์การผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับตุ๊กตา บลายธ์ รวมทั้งสิทธิ์ในการนำตุ๊กตาตัวนี้ไปใช้ในงานโฆษณา และการผลิตจำหน่ายในเอเชีย คือ บริษัท ซีดับเบิ้ลยูซี (CWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่ญี่ปุ่น บริษัทนี้ยังดูแลการจัดนิทรรศการ และการแสดงแฟชั่นโชว์การกุศลประจำปี ! ของตุ๊กตาบลายธ์ด้วย สาวกอุ๊บส์..แฟนๆพันธุ์แท้ของแม่หนูตาโต บลายธ์” (ซึ่งแต่ละรุ่นมีชื่อเรียกน่ารักๆ เช่น โรซี่ เร้ด ฮอลลี่ วู้ด ซันเดย์ เบสต์ ฯลฯ) เขาจับกลุ่มกันเป็นชุมชนทั้งบนดินและบนเว็บไซต์ จัดทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ประกวดภาพถ่ายตุ๊กตาบลายธ์ หรือประกวดชุดเสื้อผ้าตุ๊กตา นอกจากนี้ยังมีการโพสต์ภาพตุ๊กตาของตัวเองขึ้นบนเน็ต ทั้งเพื่อโชว์และแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเอง คุณๆที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมเยือนพวกเขาได้ที่เว็บไซต์ www.blythedoll.com นอกจากนี้ยังมีอีกสองเว็บที่น่าสนใจ คือ www.thisisbythe.com และ www.theblythestore.com ดีไซเนอร์ที่ร่วมทีมออกแบบตุ๊กตาบลายธ์เมื่อปี 2515 มี 3 คนสังกัดบริษัท มาร์วิน กลาส สตูดิโอ ซึ่งโด่งดังมากในเรื่องการออกแบบของเด็กเล่น รูเบ็น เทอร์เซียน เป็นผู้ออกแบบลูกตา ซึ่งตอนแรกเขาตั้งใจจะใช้กับตุ๊กตาสุนัข ส่วนลำตัวของตุ๊กตา แรกๆทีมงานก็ออกแบบให้ยาวได้ส่วนกับหัวที่มีขนาดใหญ่ของตุ๊กตา แต่ปรากฏว่ากล่องใส่มีขนาดสั้น จึงต้องลดส่วนความยาวลำตัวให้บรรจุได้พอดี ตุ๊กตาบลายธ์จึงหัวโตตัวสั้น ดูเหมือนการ์ตูน ตุ๊กตาบลายธ์สามารถบิดเอวและเข่าได้ เพื่อให้เปลี่ยนชุดได้ง่ายและสามารถโพสต์ท่าเหมือนนางแบบ และเธอก็ได้เป็นนางแบบจริงๆ เมื่อ จิน่า กาแรน (Gina Garan) ผู้ผลิตรายการทีวีและช่างภาพสาว ได้ จัดพิมพ์หนังสือรวมภาพถ่ายแฟชั่นตุ๊กตาบลายธ์ออกจำหน่าย เล่มแรกชื่อหนังสือ This is Blythe (พิมพ์ครั้งแรกปีค.ศ. 2000) เป็นภาพชุดตุ๊กตาบลายธ์ในสถานที่ต่างๆ และเล่มล่าสุด Blythe Style เป็นสมุดภาพรวมฮิตตุ๊กตาบลายธ์ในชุดหรูที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ห้องเสื้อดังระดับโลกอย่างปราดา กุชชี่ เวอร์ซาเช่ และวิเวียน เวสต์วูด นอกจากนี้ยังมีโปสการ์ดและโปสเตอร์ภาพตุ๊กตาบลายธ์ออกมาจำหน่ายอีกด้วย
ในปี 2543 บลายธ์ปรากฏตัวในโฆษณาทางทีวีความยาว 15 วินาทีเป็นครั้งแรก โดยเธอเป็นพรีเซ็นเตอร์ในแคมเปญช่วงเทศกาลคริสต์มาสให้กับปาร์โก้ (Parco) ซึ่งเป็นเชนห้างสรรพสินค้าชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น โฆษณาชุดนี้เป็นที่ชื่นชอบอย่างมาก และทำให้บลายธ์กลายเป็นขวัญใจของสาวๆญี่ปุ่นนับจากนั้นเป็นต้นมา วันแรกที่บริษัท ทาคาระ ผลิตตุ๊กตาบลายธ์รุ่น ปาร์โก ลิมิเต็ด เอดิชั่นจำนวน 1,000 ตัว ออกจำหน่าย ปรากฏว่าสินค้าขายเกลี้ยงในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง!! เดือนมิ.ย. 2544 ก.ค. 2547 มีการผลิตตุ๊กตานีโอ บลายธ์ ออกมาแล้ว 37 แบบ และพีทิต บลายธ์ (ขนาดจิ๋ว) 48 แบบ
แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น